ข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลลาดบัวหลวง
๑. สภาพทั่วไป
๑.๑ ลักษณะที่ตั้ง/อาณาเขตและปกครองลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลลาดบัวหลวง ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ เทศบาลตำบลลาดบัวหลวงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพื้นที่ ๓.๘ ตารางกิโลเมตร ประด้วย ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๒ ตำบลลาดบัวหลวงและมีที่ตั้งห่างจากทางหลวงแผ่นดินสายกรุงเทพ-สุพรรณบุรี ประมาณ ๓ กิโลเมตรและห่างจากตัวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ ๖๕ กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯประมาร ๖๙ กิโลเมตร โดยมีทางหลวงท้องถิ่น ๑ สาย คือ สายลาดบัวหลวง – ไม้ตรา มีคลองสำคัญ ๑ สาย คือ ครองพระยาบันลือ
๑.๒ อาณาเขต
ทิศเหนือ
|
ติดต่อกับ
|
หมู่ที่ ๔ ตำบลลาดบัวหลวง
|
ทิศใต้
|
ติดต่อกับ
|
หมู่ที่ ๒,๓ ตำบลสามเมือง
|
ทิศตะวันออก
|
ติดต่อกับ
|
หมู่ที่ ๑ ตำบลลาดบัวหลวง
|
ทิศตะวันตก
|
ติดต่อกับ
|
หมู่ที่ ๑ ตำบลหลักชัย
|
เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลลาดบัวหลวงมีอาณาเขตการปกครองชุมชนจำนวน ๒ หมู่บ้านคือ หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑.๓ ภูมิประเทศ
อำเภอลาดบัวหลวงมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีคลองพระยาบันลือกั้นเป็นแนวเขตตำบลและเมื่อถึงฤดูฝนก็มีน้ำท่วมขังทำให้ประชากรได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมากเพราะน้ำในคลองจะยกระดับสูงขึ้น สภาพทั่วไปเป็นทุ่งนาและสวนสภาพอากาศในพื้นที่ภาคกลางมีฤดูฝน ฤดูร้อน ฤดูหนาว อุณหภูมิอยู่ในเขตปกติทั่วไป
๑.๔ สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยภาพรวม
ประชากรในชุมชนเทศบาลตำบลลาดบัวหลวงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรและค้าขายทำให้ชุมชนภายในเขตเทศบาลกลายเป็นชุมชนขนาดเล็กและมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน ให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมต่อกัน ทำให้เศรษฐกิจของชุมชนมีรายได้คล่องตัวเพราะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการภายในชุมชน
๒. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ระบบบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน)
๒.๑ การคมนาคม/ขนส่ง
การติดต่อขนส่งของเทศบาลลาดบัวหลวงยังอยู่ในสภาพที่มีการขนส่งน้อยเพราะสมัยก่อนนั้นเทศบาล ตำบลลาดบัวหลวง ใช้การติดต่อขนส่งทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ซึ่งในปัจจุบันการขนส่งทางน้ำได้เลิกใช้มานานแล้วและเริ่มมีการขนส่งทางบกแทนที่ ปัจจุบันทางหลวงที่ใช้ คือ ทางหลวงสายลาดบัวหลวง – ไม้ตรา และทางหลวงสายกรุงเทพฯ – สุพรรณ ทำให้การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าเข้าสู่เทศบาลตำบลลาดบัวหลวง
๒.๒ การไฟฟ้า
หลังจากที่มีการยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ทำให้ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลลาดบัวหลวงทุกชุมชน มีกระแสไฟฟ้าใช้จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประมาณร้อยละ ๙๙ ของประชาชนทั้งหมดซึ่งเป็นการบริการแก่ประชาชนให้ได้รับความสะดวกสบายและได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง
๒.๓ การประปา
สำหรับการประปาในเขตเทศบาลนั้น อาจพูดได้ว่าประชาชนในเขตเทศบาลได้รับบริการน้ำประปาทุกครัวเรือนโดยประมาณร้อยละ ๙๐ ของประชาชน โดยมีการจัดตั้งประปาขนาดใหญ่จำนวน ๒ จุด เพื่อให้บริการประชาชน โดยเฉลี่ยประชาชนใช้น้ำโดยประมาณ ๒,๕๐๐ ลูกบาศก์ลิตร/วัน
๒.๔ การสื่อสารและการคมนาคม
ภายในเขตเทศบาลตำบลลาดบัวหลวงนั้น มีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายในเขต ดังนี้
1. ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน ๑ แห่ง
2. องค์การโทรศัพท์ จำนวน ๑ แห่ง
จึงให้ประชาชนได้รับบริการจากหน่วยงานดังกล่าวประมาณ ๕๐% จากจำนวนประชากรทั้งหมดประกอบกับในเขตเทศบาลมีเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกระบบจึงทำให้ประชาชนในเขตพื้นที่เข้าถึงบริการดังกล่าวอย่างทั่วถึง
๒.๕ การใช้ที่ดิน
การใช้ที่ดินของประชาชนส่วนใหญ่ ใช้พื้นที่เพื่อประกอบการด้านการเกษตรเพื่อใช้ในการเพาะปลูกและใช้ในการผลิตพืชพรรณทางการเกษตร ซึ่งให้ผลผลิตที่น่าพอใจและส่งผลให้เป็นสินค้าที่สำคัญของประชาชนเพื่อนำไปค้าขายต่อไปได้เป็นอย่างดี
๓. ด้านเศรษฐกิจ
๓.๑ โครงสร้างของเศรษฐกิจ/รายได้ของประชาชน
ลักษณะพื้นที่ประชาชนได้ประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ซึ่งมีรายได้/โดยเฉลี่ย ๕,๐๐๐-๘,๐๐๐ บาท/เดือน
๓.๒ การเกษตรกรรม
– พื้นที่การเกษตรกรรม เฉลี่ยมีประมาณ ๒.๘ ตารางกิโลเมตร
– จำนวนครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมมีประมาณ ๔๐๐ ครัวเรือน
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ผลไม้ต่างๆและเลี้ยงสัตว์
– มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนต่อปี ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
๓.๓ การอุตสาหกรรม
ภายในเขตเทศบาลตำบลลาดบัวหลวงมีโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในหมู่ที่ ๒ จำนวน ๓ แห่ง ด้วยกันคือ บริษัทเรเซอร์จำกัด โรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีนจำกัด และบริษัทซีฟี้อินดัสตรี้จำกัด
๔. ด้านสังคม
๔.๑ จำนวนประชากรแยกตามเพศ อายุ และลักษณะโครงสร้างของประชากร โดยทั่วไป จำนวน / ความหนาแน่นของครัวเรือน
– จำนวนประชากรภายในเขตเทศบาลตำบลลาดบัวหลวงทั้งหมดมี ๒,๖๔๔ คน
– แยกเป็น ชายจำนวน ๑,๒๙๔ คน หญิง จำนวน ๑,๓๕๑ คน
– มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยประมาณ ๑๕ คน/ตารางกิโลเมตร มีจำนวนครัวเรือนประมาณ ๕๙๓ ครัวเรือน
๔.๒ การศึกษา ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม
– ประชากรในเขตชุมชนได้รับการศึกษาประมาณ ร้อยละ ๘๐ ของประชากรทั้งหมด
– ประชากรได้รับการศึกษาขั้นสูงสุดตั้งแต่ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.-ปริญญาตรีมีจำนวน ร้อยละ ๒๐ ของประชากรทั้งหมด
– ประชากรในเขตชุมชนนับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ ๘๐ และนับถือศาสนาอิสลามจำนวนร้อยละ ๒๐ ของจำนวนประชากรทั้งหมด
๔.๓ การสาธารณสุข
ภายในเขตเทศบาลตำบลลาดบัวหลวง ไม่มีสถานพยาบาล (คลินิก) มีร้านขายยาแผนปัจจุบันและแผน โบราณ จำนวน ๖ แห่ง
๔.๔ การสร้างสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
เทศบาลตำบลลาดบัวหลวงได้รับการสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการจากหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
- ผู้สูงอายุ จำนวน ๒๘๔ คน
- ผู้พิการ จำนวน ๕๐ คน
- ผู้ยากไร้ จำนวน ๓ คน
- ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน – คน
รวมทั้งสิ้น ๓๓๗ คน
การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเพราะงบประมาณในการให้การช่วยเหลือจากหน่วยงานส่วนกลางที่ส่งมายังท้องถิ่นมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ประกอบกับเทศบาลตำบลลาดบัวหลวงมีงบประมาณในการให้ความสงเคราะห์อยู่น้อย แต่มีผู้ต้องการความช่วยเหลือมีมากจึงทำให้การจัดสรรงบประมาณด้านการสงเคราะห์ให้แก่ผู้รับบริการที่น้อยตามไปด้วย
๔.๕ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (สถิติอาชยากรรมประเภทต่าง ๆ และอุบัติภัย)
ในเขตเทศบาลตำบลลาดบัวหลวงมีสถานีตำรวจภูธรลาดบัวหลวง จำนวน ๑ แห่ง มีอัตรากำลังคน จำนวน ๙๕ นาย ซึ่งมีงานจัดสายตรวจและการจราจรในเขตพื้นที่เทศบาลลาดบัวหลวง ซึ่งสามารถให้ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้เป็นอย่างดี โดยมี พันตำรวจเอก สุพจน์ เส้นขาว เป็นผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรลาดบัวหลวงในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
๕. ด้านการเมือง – การบริหาร
๕.๑ โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
สมาชิกสภาเทศบาลประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน จำนวน ๑๒ คน นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน นอกจากนั้น ยังประกอบด้วย รองนายกเทศมนตรี จำนวน ๒ คน พนักงานเทศบาล จำนวน ๑๘ คน ลูกจ้างประจำ จำนวน ๑ คน พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน ๑๘ คน พนักงานจ้างตามภารกิจ ๑๒ คน รวมพนักงานทั้งหมดจำนวน ๔๙ คน ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลลาดบัวหลวง ชื่อ นายพันวิทย์ ชูจักร
๕.๒ การคลังท้องถิ่น ข้อมูลประมาณการรายรับ – รายจ่าย ประจำปี ๒๕๕๘
– เทศบาลตำบลลาดบัวหลวง มีรายรับ ๓๕,๐๑๐,๐๐๐ บาท
– เทศบาลตำบลลาดบัวหลวง มีรายจ่าย ๓๔,๙๑๙,๑๒๐ บาท
๕.๓ การดำเนินกิจการพาณิชย์
เทศบาลตำบลลาดบัวหลวงไม่มีการดำเนินการด้านการพาณิชย์
๕.๔ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลลาดบัวหลวง ให้ความสนใจและมีความตื่นตัวตลอดเวลาในการมีส่วนร่วมทางการเมืองพอสมควรสังเกตได้จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประชาชนให้ความร่วมมือในการใช้สิทธิของตนเองในการเลือกตั้งตัวแทนของตนเองที่ดีพอสมควร
๕.๕ การอำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์และสวัสดิการของประชาชน
เทศบาลได้ประสานงานกับสถานีตำรวจภูธรลาดบัวหลวงในการจัดการอำนวยการเรื่องของความสะดวกในเขตพื้นที่ในด้านการจราจรและการตรวจสอบการช่วยการปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนให้ความสะดวกในการรับแจ้งเหตุที่อาจเกิดความเสียหายกับทรัพย์สินของประชาชนอีกด้วย
๕.๖ สถิติและข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น
– จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๒,๐๕๕ คน
– จำนวนผู้มาใช้สิทธิ ๑,๖๘๕ คน
– จำนวนของผู้มาใช้สิทธิ คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๙๙%
๖. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๖.๑ ทรัพยากรน้ำ (ประเภทสภาพแหล่งน้ำและการใช้ประโยชน์)
เทศบาลตำบลลาดบัวหลวงมีคลองธรรมชาติจำนวน ๔ สาย คือ คลองพระยาบันลือ คลองบางซ้าย คลองสะพังโคลน และคลองเมฆลา เป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงประชากร โดยเฉพาะคลองพระยาบันลือ ถือเป็นคลองสายหลักในการใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในการเพาะปลูกการเกษตรเลี้ยงสัตว์ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตของประชาชนชาวลาดบัวหลวงตลอดมา
๖.๒ การเกษตร
ในด้านการผลิตภาคเกษตรกรรมยังเป็นอาชีพหลักของประชาชนในเขตเทศบาล พื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลยังเป็นที่นา ประมาณ ๒ ใน ๓ ส่วนของพื้นที่ทั้งหมด อาชีพหลักของประชาชนในเขตเทศบาลจึงเป็นอาชีพเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่ทำนา และทำประมง และการปศุสัตว์บ้าง
๖.๓ สภาพแวดล้อม
ในเขตเทศบาลตำบลลาดบัวหลวง ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่ยังอยู่ในลักษณะกึ่งสังคมเมืองเนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และน้อยประกอบกับอาชีพส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรมจะมีปัญหาบ้างในเรื่องมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมมลพิษทางน้ำจากภาคการเกษตรและปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนต่างๆบ้าง
แนวทางทำ swot analysis ของเทศบาลตำบลลาดบัวหลวง
จุดแข็ง (STRENGTHS)
|
จุดอ่อน (WEAKNESSES)
|
– มีที่ตั้งการคมนาคมสะดวกโดยเขตเทศบาลฯ อยู่ติดกับถนนกรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี
– มีเขตติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์
– การใช้ที่ดินในเขตเทศบาลเป็นไปตามการวางผังเมือง ใช้ประโยชน์ชุมชนเมือง ร้อยละ ๓๐ และใช้ประโยชน์เน้นพื้นที่เกษตรกรรม ร้อยละ ๗๐
– ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมมีระบบชลประทานและลำคลองในการจัดเก็บน้ำใช้ในด้านการเกษตร
|
– ปัญหาอุทกภัยซ้ำซาก
– ปัญหาการว่างงาน
– ปัญหาประชากรแฝง
– ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน
|
โอกาส (OPPORTUNITIES)
|
อุปสรรค/ข้อจำกัด (TEHEATS)
|
– การคมนาคมสะดวกสบาย
– มีเขตพื้นที่ปกครองน้อยดำเนินการตามนโยบายได้เต็มที่
|
– ขาดสถานีขนส่งรถโดยสารประจำทางไปยังจังหวัดใกล้เคียง
– ประชาชนไม่ค่อยมีส่วนร่วม
– ระบบชลประทานและลำคลองเริ่มตื้นเขิน
|
You must log in to post a comment.